สมาธิภาวนา 4 ประเภท


สมาธิภาวนา ๔ ประเภท

ภิกษุทั้งหลาย ! สมาธิภาวนา ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๔ อย่าง คือ :- ภิกษุทั้งหลาย ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

๑. ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร)
๒. การได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ (ญาณทสฺสนปฏิลาภ)
๓. สติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ)
๔. ความสิ้นแห่งอาสวะ (อาสวกฺขย)

ภิกษุทั้งหลาย ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิด
จากวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ความคิดเห็น